พยุง

      Comments Off on พยุง

พยุง

ชื่อสามัญ                  Black wood, Rosewood, Siamese rosewood

ชื่อวิทยาศาสตร์            Dalbergia cochinchinensis Pierre

ชื่อวงศ์                     LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

  ไม้ต้นผลัดใบ ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 10 – 25 ม. ล้าต้นเปลาตรง เรือน ยอดรูปทรงกลมหรือรูปไข่ เปลือกต้นสีเทาเรียบ และลอกเป็นแผ่นบาง ๆ เปลือกด้านใน สีน้ำตาลแกมสีเหลือง เนื้อไม้สีแดงอมม่วง เนื้อละเอียดมีลวดลายสวยงาม

ใบ : ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ ช่อใบยาว 10-20 ซม. มีใบย่อย 7-9 ใบ ปลายสุด เป็นใบเดี่ยว แผ่นใบย่อยรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ยาว 4–7 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบบางผิวเกลี ยง ด้านบนสีเข้มด้านล่างสีอ่อน เส้นแขนงใบมี 6-8 คู่

ดอก : ดอกช่อแบบช่อแยกแขนง ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ยาว 10-20 ซม. ดอกย่อยมีก้าน เรียงสลับบนแกนกลาง มีใบประดับที่ช่อดอก ก้านดอกค่อนข้างสัน กลีบเลียงเชื่อมติดกัน เป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 กลีบ กลีบดอกลักษณะเป็นรูปดอกถั่วสีขาวนวล กลิ่นหอมอ่อน ๆ ดอก บานเต็มที่กว้าง 5-8 มม. กลีบดอกรูปขอบขนานปลายมน มี 5 กลีบ เกสรเพศผู้ 10 อันเชื่อมติดกัน รังไข่เกลี ยงก้านมีขนปกคลุม

ผล : ฝักแห้งรูปขอบขนาน ฝักแบนและขอบบาง ยาว 4–6 ซม. ผิวเกลียง ตรงกลางมีกระเปาะหุ้ม เมล็ด ฝักอ่อนสีเขียว ฝักแก่สีน้ำตาลแดง จะร่วงหล่นโดยที่เมล็ดยังอยู่ในฝักไม่แตกออก

เมล็ด : เมล็ดรูปไต สีน้ำตาลเข้ม มี 1-4 เมล็ดต่อฝัก ขนาด 0.4-0.7 ซม. ผิวค่อนข้างมัน

การขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์โดยเพาะเมล็ด หรือตอนกิ่ง

การกระจายพันธุ์ : พบในเขตเอเชียร้อน ภูมิภาคอินโดจีน ไทย กัมพูชา เวียดนาม และลาว พบตามป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้ง

ประวัติพันธุ์ไม้ (ในประเทศไทย) : เป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจ้าจังหวัดหนองบัวล้าภูในประเทศไทยพบมาก ทางภาคตะวันออก และตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันไม้พะยูงจัดเป็นไม้สงวน มีสถานภาพเป็นไม้หวงห้ามเนื่องจากเหลือ เฉพาะในประเทศไทยเพียงแห่งเดียวในโลก ต้นพะยูงจัดเป็นไม้มงคลของไทยนิยมใช้ในพิธีวางศิลาฤกษ์

ประโยชน์ และสรรพคุณ : เนื้อไม้สีแดงอมม่วง เนื้อละเอียดสวยงาม แข็งแรงทนทาน ท้าให้เป็นไม้ที่มีราคาสูงนิยม น้ามาท้าเครื่องเรือน เครื่องใช้ งานแกะสลัก เครื่องดนตรี เช่น ซอ ขลุ่ย โทน ร้ามะนา ลูกระนาด หรือท้าเป็นวัตถุ มงคลและของแต่บ้าน สามารถใช้เลียงครั่งได้ดี และมีสรรพคุณเป็นยาพื้นบ้าน ดังนี้ เปลือกต้นหรือแก่นพะยูง น้ามาผสมกับแก่นสนสามใบ แก่นขี เหล็ก และแก่นแสมสาร ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยา แก้มะเร็ง ราก เป็นยารักษาอาการไข้พิษเซื่องซึม เปลือก ต้มเอาแต่น้ำเป็นยาอมรักษาโรคปากเปื่อย ปากแตกระแหง ยางสด เป็นยาทาปาก รักษาโรคปากเปื่อย ทาแก้เท้าเปื่อย