มะเกลือ
ชื่อสามัญ Ebony tree.
ชื่อวิทยาศาสตร์ Diospyros mollis Griff.
ชื่อวงศ์ EBENACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ มะเกลือไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-30 เมตร ใบกว้าง 3.5-4.0 ซม. ยาว 9-10 ซม. เปลือกต้นมีสีดำแตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ ใบเป็นใบเดียวรูปรี ปลายใบแหลม ผลกลมผิวเกลี้ยง ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีดำ ผลแก่จัดจะแห้ง มีกลีบเลี้ยงติดบนผล 4 กลีบ ผลแก่ราวเดือนมิถุนายน-สิงหาคม เมล็ด แบน สีเหลือง 4-5 เมล็ด ขนาดกว้าง 0.5-0.7 ซม. ยาว 1-2 ซม.
ขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด
ผล : มะเกลือดิบมีสรรพคุณเป็นยาขับพยาธิที่คนไทยรู้จักและใช้กันมานาน ผลมะเกลือมีรสเมาเบื่อ ขับพยาธิในลำไส้ ถ่ายตานซาง ถ่ายกระษัยโดยมากใช้กับเด็ก วิธีการคือ เอาลูกสดใหม่ไม่ช้ำ ตำคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำกะทิมะพร้าวดื่มทันที ห้ามเก็บไว้ จะเกิดพิษ ขับพยาธิไส้ เดือน พยาธิปากขอ พยาธิตัวตืด พยาธิเส้นด้าย จำนวนลูกเอาเท่าอายุ แต่ไม่เกิน 25 ลูก เอาดีเกลือ ฝรั่ง 10 กรัม ละลายน้ำสุก 1 แก้ว ดื่มตามหลัง 30 นาทีอย่าปล่อยให้เป็นสีดำ เพราะอาจเป็นพิษ ปัจจุบัน มีการสกัดสารที่มีฤทธิ์ขับพยาธิจากผลมะเกลือแล้วผลิตเป็นยาเม็ดสำเร็จรูปใช้รับประทาน
เมล็ด รสเมามัน ขับพยาธิในท้อง
เปลือกต้น รสฝาดเมา เป็นยาช่วยบูด แก้กระหาย ขับพยาธิ แก้พิษ ตานซาง
ทั้งต้น รสฝาดเมา ขับพยาธิ แก้ตานซาง แก้กระษัย
แก่น รสฝาดเค็มขมเมา ขับพยาธิ แก้ตานซาง
ราก รสเมาเบื่อ ฝนกับน้ำข้าวกิน แก้อาเจียน แกเป็นลม หน้ามืด แก้กระษัย แก้ริดสีดวงทวาร แก้พิษตานซาง ขับพยาธิ