ประดู่
ชื่อสามัญ Burmese Rosewood, Andaman Redwood, Amboyna Wood.
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pterocapus indicus Willd.
ชื่อวงศ์ LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น: ไม้ต้นขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 10 – 20 เมตร ลำต้นเปลาตรง
ใบ: เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ มีใบย่อย 7 – 13 ใบ ใบรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ปลายมนหรือแหลมเป็นติ่งทู่ โคนใบมนกว้าง
ดอก: สีเหลืองกลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกรวมกันเป็นช่อตามง่ามใบหรือปลายกิ่ง ช่อยาว 20-30 เซนติเมตร
ผล: เป็นฝักแบนกลมคล้ายจานบิน มีปีกรอบ ๆ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.5 – 5 เซนติเมตร ตรงกลางนูน มีเมล็ด 1 เมล็ด อยู่ตรงกลาง
นิเวศวิทยาและการกระจายพันธุ์ พบในป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรังทั่วไป ยกเว้นภาคใต้ ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 100-600 เมตร
การใช้ประโยชน์ เนื้อไม้แข็ง สีขาวอมเหลือง แก่นสีน้ำตาลแกมแดง มีลวดลายสวยงามทนทาน ไสกบ ตกแต่งและชักเงาได้ดี ใช้ในการก่อสร้าง ทำพื้นบ้าน เสา ทำเกวียน เครื่องเรือน และด้ามเครื่องมือเครื่องใช้ เปลือกและแก่นให้สีน้ำตาลใช้ย้อมผ้าและให้น้ำฝาดสำหรับฟอกหนัง