มะกัก หรือ มะกอกป่า
ชื่อสามัญ Hog plum
ชื่อวิทยาศาสตร์ Spondias bipinnata Airy Shaw & Forman
วงศ์ (Anacardiaceae)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นผลัดใบ สูงได้ถึง 25 ม. กิ่งอ่อนมีขนสั้นนุ่ม ใบประกอบ 2 ชั้น เรียงเวียน ใบประกอบย่อยมี 3-5 คู่ คู่ล่างมักลดรูปเป็นใบเดี่ยว ใบย่อยมี 3-5 คู่ ใบปลายขนาดใหญ่กว่าใบด้านข้าง รูปรีหรือรูปไข่ ยาว 2-8.5 ซม. ปลายแหลมยาวหรือยาวคล้ายหาง โคนกลม เบี้ยว แผ่นใบมีขนสั้นนุ่มทั้งสองด้าน ก้านใบย่อยใบข้างสั้นมาก ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกที่ปลายกิ่ง ยาวเท่า ๆ หรือยาวกว่าใบประกอบ ดอกจำนวนมากสีขาว
ใบ : ประดับรูปแถบขนาดเล็ก ก้านดอกยาว 4-6 มม. กลีบเลี้ยง 4 กลีบ รูปไข่ ยาวประมาณ 1 มม. มีขนประปราย
ดอก : ดอก 4 กลีบ เรียงจรดกัน รูปรี ยาวประมาณ 4 มม. เกสรเพศผู้ 10 อัน โคนก้านชูอับเรณูกว้าง จานฐานดอกจักเป็นพูตื้น ๆ 10 พู รังไข่มี 5 ช่อง ก้านเกสรเพศเมีย 5 อัน ผลผนังชั้นในแข็ง รูปรีหรือรูปไข่ ยาว 4-4.5 ซม. สุกสีเหลือง ก้านหนา
การขยายพันธุ์ : มะกัก จัดเป็นพืชถิ่นเดียว หมายถึงพืชที่มีเขตกระจายพันธุ์และถิ่นกำเนิดเฉพาะในประเทศไทย พบเฉพาะภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคตะวันตกเฉียงใต้ของไทย ขึ้นตามภูเขาหินปูนที่แห้งแล้งในป่าเบญจพรรณหรือป่าละเมาะผลัดใบ ระดับความสูง 50-300 เมตร ออกดอกเดือนเมษายน-พฤษภาคม ออกผลเดือน พฤษภาคม-กรกฎาคมพืชถิ่น
สรรพคุณ : เปลือก แก้กระหายน้ำ แก้ไข้ร้อนใน รักษาโรคหนองใน แก้โรคเกี่ยวกับลำไส้ รักษาแผลพุพอง ดับพิษไข้ ราก ทำให้ชุ่มคอ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ขับปัสสาวะ แก้ไข้ท้องร่วง แก้บิดมูกเลือด แก้พิษสำแดง กินของแสลงใบ แก้ปวดในหู บำบัดโรคธาตุพิการ แก้โรคบิด ผล แก้กระหายน้ำ แก้ร้อนใน ทำให้ชุ่มคอ แก้เลือดออกตามไรฟัน ใช้เป็นยาอาบห้ามละลอก (โรคผิวหนังชนิดหนึ่งมีอาการพองเป็นหัวเล็ก ๆ คล้ายฝี) แก้โรคธาตุพิการ น้ำดีไม่ปกติ แก้บิด แก้โรคน้ำกัดเท้า แก้ไข้หวัดทุกชนิด