ไทรย้อยใบแหลม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus benjamina L.
ชื่อเรียกอื่น ไทร (นครศรีธรรมราช), ไทรกระเบื้อง (ประจวบคีรีขันธ์), ไทรย้อย ใบแหลม (กรุงเทพฯ)
ชื่อวงศ์ MORACEAE 023/1 66
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นหรือกึ่งอาศัยผลัดใบขนาดกลาง สูงประมาณ 5-15 ม. เปลือกต้นสีน้ำตาลอมเทา ผิว เรียบ แผ่กิ่งก้านทิ้งใบห้อยลง มีรากอากาศแตกจากกิ่งห้อยลงสู่พื้นดิน ลักษณะเป็นรากขนาดเล็กเส้น สีน้ำตาลกลมยาว ใบ : ใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนสลับ แผ่นใบรูปรีแกมรูปไข่ยาว 2-11 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบ มนหรือเรียวสอบ ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบหนา สีเขียวเรียบเป็นมัน เส้นแขนงใบเรียงขนาน กัน มีต่อมไขที่โคนเส้นกลางใบ ก้านใบยาว 0.5-2 ซม. มีหูใบหลุดร่วงง่าย
ดอก : ดอกช่อตามซอกใบ มีขนาดเล็กอยู่ภายในฐานรองดอกรูปทรงกลมคล้ายผล ขนาด 0.5-1.8 ซม. ผิวเกลี้ยงหรือมีขนประปราย ออกดอกเดี่ยวหรือเป็นคู่จากข้างกิ่ง ไม่มีกลีบดอก ช่อดอกของไทรคือผลที่ยังไม่ สุก
ผล : ผลรูปทรงกลมหรือรี ออกเดี่ยว ๆ หรือเป็นคู่ตามซอกใบ ขนาดประมาณ 0.8 ซม. ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีเหลืองอมส้ม และเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม
การขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์โดยเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง หรือปักช้า การกระจายพันธุ์ : พบได้ที่อินเดีย เนปาล ปากีสถาน จีนตอนใต้ พม่า ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และ ออสเตรเลีย มีเขตการกระจายพันธุ์กว้างในประเทศเขตร้อน ประวัติพันธุ์ไม้ในประเทศไทย : ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยมักขึ้นกระจายในป่าดิบแล้ง ป่าดิบ ชื้น และป่าดิบเขา หรือเขาหินปูน และไทรย้อยใบแหลมเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดกรุงเทพมหานคร ประโยชน์ และ สรรพคุณ : ปลูกเป็นไม้ประดับให้ร่มเงา ล้าต้นแผ่กว้างเต็มไปด้วยหลืบโพรงจึงเป็นที่อยู่อาศัยของนก กระรอก ชะนี ลิง และผลเป็นอาหารของสัตว์ต่าง ๆ รากอากาศสามารถน้ามาพันเพื่อประดับดอกไม้แห้งเป็นพวง มาลา
การใช้ประโยชน์ : มีสรรพคุณเป็นยาพื้นบ้าน ได้แก่ ราก เป็นยาแก้กาฬโลหิต ยาแก้กระษัย บำรุงน้ำนม, รากอากาศ บำรุง โลหิต แก้ตกโลหิต