สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง

รายละเอียด

     เน้นการผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางที่บูรณาการศาสตร์และศิลป์ในการปรุง ผสม และพัฒนาเคื่องสำอาง เพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีความปลอดภัย และมีคุณภาพตามมาตรฐานสากลนำมาประยุกต์ใช้ในการประกอบวิชาชีพได้ มีความรับผิดชอบ ความเป็นผู้นำเพียบพร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณโดยคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนในการประกอบวิชาชีพและการดำรงชีวิต

รอบโควตา

วันที่ 12 ตุลาคม 2563 – 22 มกราคม 2564
จำนวนรับ 20 ที่นั่ง

คุณสมบัติพิเศษ
1. ผู้ที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะ ต้องมีจำนวนหน่วยกิตกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต และกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
2. ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม 4 ภาคเรียนไม่น้อยกว่า 2.50
3. สอบสัมภาษณ์ (ในสถานการณ์ปกติ)ประกอบด้วย แฟ้มสะสมงาน (Portfolio) ความสามารถพิเศษ
– รางวัล (ระดับจังหวัดขึ้นไป) ด้านสมุนไพร/เครื่องสำอางหรือที่เกี่ยวข้อง หรือ/และ
– ใบประกาศนียบัตรหรือเกียรติบัตร ด้านสมุนไพร/เครื่องสำอางหรือที่เกี่ยวข้อง หรือ/และ
– ประสบการณ์เด่นด้านสมุนไพร/เครื่องสำอาง หรือที่เกี่ยวข้อง (นำ Portfolio มาในวันสอบสัมภาษณ์)
4. ไม่เป็นผู้มีความพิการทางสายตา การมองเห็น การได้ยิน การพูด และการสื่อสาร ไม่เป็นผู้ที่มีปัญหาทางจิตเวชขั้นรุนแรง ได้แก่ โรคจิต โรคประสาท หรือโรคบุคลิกภาพแปรปรวน และไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา และการประกอบวิชาชีพ

อาชีพที่สามารถประกอบได้

1. งานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
2. งานควบคุมคุณภาพการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
3. การประกอบธุรกิจผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
4. ผู้แทนฝ่ายขายวัตถุดิบ เครื่องมือและผลิตภัณฑ์ทางวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง
5. งานประเมินผิวในคลีนิกความงาม

จุดเด่นของหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เป็นหลักสูตรที่เน้นผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพสามารถนำความรู้ทางวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางไปประกอบวิชาชีพ พร้อมทั้งมีคุณธรรมจริยธรรมในการทำงาน และสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมในประเทศ หรืออาจนำไปสู่การส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยเน้นภาคปฏิบัติในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากงานวิจัย เพื่อได้ต้นแบบผลิตภัณฑ์ ที่นำไปผลิตในระดับภาคอุตสาหกรรมตามมาตรฐานการผลิตที่ดี (Good Manufacturing Practice, GMP)

โครงการความร่วมมือกับหน่วยงาน หรือสถานประกอบการต่างๆ

1. บริษัท แพนราชเทวีกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) แพนคลินิก ราชเทวีคลินิก ไลออนส์สุพรรณหงส์คลินิก
2. บริษัท สยาม เนเชอรัลโปรดักซ์ จำกัด
3. บริษัท เคมีโก้ อินเตอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด

โดยทั้ง 3 บริษัท เป็นบริษัทที่มีการ MOU ร่วมกับทางหลักสูตร ซึ่งให้ความร่วมมือในการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการร่วมกัน ในด้านการเรียนการสอน และรับนักศึกษาเข้าไปฝึกประสบการวิชาชีพ เพื่อเพิ่มทักษะ และประสิทธิภาพของนักวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง นอกจากนี้ยังรับบัณฑิตที่จบสาขาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง มหาวิทยาลัยสวนดุสิตเข้าทำงาน

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง/ประสบความสำเร็จ

1. น.ส.มณีรัตน์ สุขจิตร ตำแหน่ง Regulator affair cosmetic supervisor บริษัท ชิเซโด้ (ไทยแลนด์) จำกัด และกรรมการฝ่ายวิชาการ สมาคมผู้ผลิตเครื่องสำอางไทย
2. น.ส.เสาวณีย์ เสนารัตน์ ตำแหน่ง ผู้จัดการฝ่ายวิจัยและพัฒนา บริษัท SPC Group (Korea and Thailand) Co., Ltd