พฤกษ์

      Comments Off on พฤกษ์

พฤกษ์

ชื่ออื่น                ตะคีก ซึก, ซิก, จามจุรี, กะซึก, ชุงรุ้ง, ก้ามปู, คะโก, จามรี (ภาคกลาง) มะขามโคก, มะรุมป่า (นครราชสีมา)   ก้านฮุ้ง (ชัยภูมิ) ถ่อนนา (เลย) พญากะบุก (ปราจีน) จ๊าขาม (ภาคเหนือ) ตุ๊ด (ตาก) กรีด, แกร๊ะ (ภาคใต้) กาแซ, กาไม (สุราษฎร์ธานี)

ชื่อสามัญ             Indian Walnut, Siris

ชื่อวิทยาศาสตร์    Albizia lebbeck Benth.

ชื่อวงศ์                  FABACEAE (LEGUMINOSAE–MIMOSOIDEAE)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  ไม้โตเร็ว ทรงพุ่มโปร่ง ใหญ่ แผ่กว้าง ไม่สม่ำเสมอ กิ่งก้านใหญ่และบิดงอ เปราะ เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้ม มีรอยแตกตื้นแต่หนาแน่น ใบ ก้านใบชั้นที่หนึ่ง 2-4 คู่ ก้านยาวสุดมีใบย่อย 3-6(9) ใบ ขนาด 1.5-5.5 x 0.9-3 ซม. ปลายมักเป็นติ่ง เส้นใบหลักไม่สมมาตร หูใบขนาดเล็กมาก ดอกเป็นช่อกลมกว้าง 4-7 ซม. สีขาวอมเขียว เปลี่ยนเป็นเหลืองอ่อน ช่อหนึ่งมี 2-4 ซ่อ ออกร่วมกันในซอกใบบนๆ ช่อไม่แตกแขนง ดอกย่อยมีก้าน 2-4 มม. ชั้นกลีบดอก 7.5-11 มม. มีพูกลีบยาวเท่ากับหลอดกลีบ เกสรตัวผู้ยาวกว่า 25 มม. ดอกย่อยตรงกลาง แตกต่างจากดอกด้านข้าง ดอกมีกลิ่นหอมตอนเย็น ผล (10)15-35 x 3-4 ซม. สีเหลืองอ่อน ผิวบางและแบน แตกได้มี 4-12 เมล็ด กระจายพันธุ์ในอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถึงตอนเหนือออสเตรเลีย ขึ้นได้ในเขตสะวันนา จนถึงริมแม่น้ำ ในไทยพบทุกภาค ในป่าที่โล่งแจ้ง หรือนำมาปลูก